ย้อนกลับไปในช่วง ยูโร 2020 หวดกันอย่างสนุก สิ่งหนึ่งที่น่าอัศจรรย์ คือการที่ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถเปิด ให้แฟนบอลเข้ามาเชียร์ในสนาม เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของทัวร์นาเมนต์

แม้ในช่วงแรกทั้ง 11 สนาม จะไม่สามารถจุแฟนบอล ได้เต็มจำนวน แต่ในเกมกลุ่ม เอฟ ระหว่างทีมชาติฮังการี ต้อนรับ โปรตุเกส แชมป์เก่า ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวโลก ที่ได้รับชมในวันนั้น เมื่อได้เห็นภาพของแฟนฟุตบอล ที่เข้ากันมาเต็มสนามปุสกัส อารีนา ที่มีความจุมากถึง 67,000 คน

 สาเหตุหลัก ที่ทำให้แฟนบอลเข้าสนามได้ เต็มจำนวนในวันนั้น มาจากความสำเร็จในการกระจาย วัคซีนของฮังการี ซึ่งเกือบจะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศ  โดยใช้วัคซีนที่ ผลิตโดยประเทศจีน และประเทศรัสเซีย

 และในนัดชิงที่สนามเวมบลีย์ ระหว่าง อิตาลี กับ อังกฤษ นั้นล้ำไปอีกขั้นกับภาพที่แฟนบอลเข้าไปในสนามเต็มจำนวน โดยไม่ต้องมีการสวมใส่แมสก์กันแล้ว ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า “ฟุตบอล” จะขับเคลื่อนอย่างสนุก ก็ต้องมี “กองเชียร์” เป็นสารตั้งต้น ที่คอยกระตุ้นนักเตะในสนามตลอดเวลา

 นี่คือภาพจำในศึกยูโร 2020 จนต่อเนื่องมาที่ฟุตบอลลีกใหญ่ๆ ของยุโรป ที่สามารถเปิดให้ แฟนบอลเข้าชมได้ อาทิเช่น พรีเมียร์ลีก ที่ให้เข้าสนามได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สโมสรมีรายได้มาหล่อเลี้ยง

 ขณะที่ลีกในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่น ก็เปิดให้แฟนบอลเข้าสนามได้เช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่สามารถ ให้เข้าได้เต็มจำนวนก็ถือ ว่าเป็นเครื่องการันตีกับการรับมือกับไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี หลังทั่วโลกเจอเชื้อนี้เล่นง านมาแล้วกว่า 2 ปีเต็ม

 กลับมาที่บ้านเรา ตลอดระยะเวลา 2 เดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อต่อวันทะลุไปแบบ “นิวไฮ” แตะที่ 2 หมื่นกว่าคนมาแล้ว จึงเกิดคำถามว่า แล้วแบบนี้ไทยลีกจะมีการ เปิดสนามให้แฟนบอล เข้าไปชมได้บ้างหรือไม่

 ทำให้ในช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา บ.ไทยลีก จำกัด เริ่มเดินเครื่องปรึกษากับหลายสโมสร เพื่อทำหลายๆ แผนออกมา ก่อนยื่นไปให้ ศบค. พิจารณาดูว่า สามารถจัดการแข่งขันได้หรือไม่ ก่อนได้รับการไฟเขียวให้ฟุตบอลไทยลีกสามารถ กลับมาดำเนินการแข่งขันแบบปิดได้แล้ว แต่ยังไม่อนุญาต ให้แข่งขันในสนามที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด (สีแดงเข้ม)

 จากนั้นก็เป็น กรมควบคุมโรค จ.บุรีรัมย์ ซึ่งพื้นที่ของพวกเขาประกาศชัดเจนว่า จะสามารถจัดการแข่งขันแบบมีผู้ชมได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ของสนาม แต่ต้องมีผู้รับวัคซีน Astra Zeneca จำนวน 1 เข็ม ไม่ต่ำกว่า 14 วัน และวัคซีน Sinovac ครบจำนวน 2 เข็ม

 การประกาศครั้งดังกล่าว มีส่วนสำคัญให้หลายจังหวัด ที่ไม่ได้เป็นสีแดงเข้ม เริ่มจะปรึกษากรมควบคุมโรค และผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้หลายสโมสรเริ่มเปิดให้แฟนบอล เข้าสนามได้ 25 เปอร์เซ็นต์ในเกมแรก ทั้งไทยลีก 1-3

 แต่ที่ยอดเยี่ยมกว่านั้น ก็คือ ในวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ทีการประกาศผ่อนปรนของ ศบค. ที่อนุญาตให้ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดจาก พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้ และ เปิดใช้สนามกีฬาทุกประเภท สำหรับการฝึกซ้อม ของนักกีฬาทีมชาติไทย แบบไม่มีผู้ชม เฉพาะ 29 จังหวัดที่มีสีแดงเข้ม

 นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชลบุรี เป็นทีมแรกที่ได้คัมแบ็ค ไปใช้บ้านตัวเอง แทนที่จะต้องไปใช้สนามกีฬากลาง จ.ตราด และ เขากระโดง สเตเดี้ยม ซึ่งเดินทางไกลอย่างมาก อีกทั้งเป็นการเซฟเงินของสโมสรอีกทางหนึ่ง แม้ว่าจะยังไม่มีแฟนบอล เข้าสนามก็ตาม ต่อจากนั้นก็ปรับมาเป็นทุกๆ สโมสรที่อยู่ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่สามารถเปิดใช้สนามของตัวเองได้แล้ว ทว่าบางส่วนยังไม่อนุญาต ให้กองเชียร์เข้าสนามเท่านั้น

 ส่วนทีมที่สามารถ มีแฟนบอลเข้าสนามได้ 25 เปอร์เซ็นต์ พวกเขาจะได้เม็ดเงินจากการ ขายบัตรผ่านประตูเข้ามาหล่อเลี้ยง สโมสรอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการขายเสื้อแข่งฤดูกาลใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่า ฟุตบอลทั่วโลกนอกจากการ มีสปอนเซอร์แล้ว สาวกของทีมก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ขับเคลื่อนสโมสรไปในทิศทางที่ดีได้เหมือนกัน

เนื่องจากหลายทีม ก็ประสบปัญหาในการไม่มี แฟนบอลเข้าสนาม ขาดรายได้ตรงส่วนนี้ไปอย่างมาก ซึ่งกระทบชิ่งไปถึงนักเตะ ที่ต้องปรับลดเงินเดือน 30-50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยพยุงสถานะการเงิน ของสโมสร ไม่ให้ติดลบไปกว่านี้

 หากไปดูตัวเลข ของผู้ตัดเชื้อที่เริ่มลดลง แม้ว่ายังแตะหลัก 14,000-15,000 คน ต่อวัน แต่ถ้าภายใน 2 เดือนนี้ เริ่มกลับเข้ามาสู่ สภาวะปกติได้เมื่อไร มีโอกาสไม่น้อยที่เราจะเห็นเสียงเชียร์ ออแกนิคของแฟนบอล เปล่งปลั่งในสนามฟุตบอลไทย เหมือนกับช่วงท้ายของฤดูกาลก่อน

สำหรับบางคน ว่ากันว่าเกมฟุตบอลนั้นคือชีวิต และแฟนบอลคือเส้นเลือดใหญ่ ที่จะคอยหล่อเลี้ยงให้สโมสร เดินหน้าต่อไปได้

เพราะเกมฟุตบอล ที่ไม่มีคนดูในสนาม มันก็คงเป็นเพียงการแข่งขันที่ไร้ ซึ่งสเน่ห์ดึงดูดใดๆ ทั้งสิ้นเลย

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล