UFABETWINS แม้ว่าเจลีก ลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่นจะก่อตั้งมากว่า 20 ปี แต่ฟุตบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ฟุยุโคคุริตสึ” (ศึกชิงแชมป์แห่งชาติฤดูหนาว)  ก็ยังเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายสำหรับชาวอาทิตย์อุทัย

UFABETWINS หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้เป็นที่สนใจ คือมันเป็นโอกาสที่จะได้เห็นฝีเท้าของเหล่าแข้งดาวรุ่ง ที่อาจก้าวขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในอนาคตของทีมชาติญี่ปุ่น เหมือนที่ เคซุเกะ ฮอนดะ, ชุนซุเกะ นาคามูระ หรือ ฮิเดโตชิ นาคาตะ ทำมาก่อน

และเมื่อราว 17-18 ปีก่อน ได้มีนักเตะคนหนึ่งกลายเป็นความหวังใหม่ของวงการฟุตบอลญี่ปุ่น หลังสร้างปรากฎการณ์สังหารประตูคู่แข่งแบบไม่ไว้หน้าในศึกชิงแชมป์ฤดูหนาว จนคว้าตำแหน่งดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของรายการ และได้รับการขนานนามว่า “สัตว์ประหลาด”

กำเนิดสัตว์ประหลาด

ฟุตบอลมัธยมปลายชิงแชมป์แห่งชาติ ถือเป็นหนึ่งในทัวร์นาเมนต์ที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และนักเตะชื่อดังหลายคนต่างเคยผ่านเวทีแห่งนี้ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมันไม่ต่างจาก “โคชิเอ็ง” ของเบสบอล

นักเตะหลายคน จึงใฝ่ฝันอยากมาเล่นในรายการนี้ให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่สำหรับ ฮิรายามะ เขาไม่ได้แค่มาโชว์ฝีเท้า แต่กลับสร้างตำนานให้กับตัวเองในทัวร์นาเมนต์นี้

มันเริ่มขึ้นในปี 2000 ที่ฝีเท้าเด็กของหนุ่มจังหวัดฟุคุโอกะไปเตะตา ทาดาโตชิ โคมิเนะ โค้ชคนดังของโรงเรียนคุนิมิ จากจังหวัดนางาซากิ ตอนไปซ้อมที่ศูนย์ฝึกคิวชู (ญี่ปุ่นจะมีศูนย์ฝึกฟุตบอลกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศที่เรียกว่า เทรเซ็น ซึ่งมาจาก Training Center)

ทำให้ตอน ม.3 เขาได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนคุนิมิ จากคำชักชวนของโค้ชโคมิเนะ ที่หมายมั่นปั้นมือว่าเด็กคนนี้จะกลายเป็นเอซคนใหม่ของทีม

“เขาเหนือกว่า ยูโสะ คุราโคชิ (อดีตเอซของคุนิมิ และหนึ่งในสมาชิกทีมชาติญี่ปุ่นชุดเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก U17 เมื่อปี 1993) เสียอีก” โคมิเนะกล่าว

อันที่จริง “คุนิมิ” หรือ โรงเรียนนางาซากิเคงริตสึคุนิมิ คือหนึ่งในโรงเรียนที่เอกอุด้านฟุตบอลของญี่ปุ่นอยู่แล้ว พวกเขาคือทีมที่ผ่านเข้าไปเล่นในศึกชิงแชมป์ฤดูหนาวติดต่อกันได้มากที่สุด (ก่อนจะถูก อาโอโมริ ยามาดะ ทำลายไปในปี 2018) และเป็นแชมป์ในรายการนี้ถึง 4 สมัยในตอนนั้น

Photo : www.sankei.com

แต่การเข้ามาของ ฮิรายามะ ก็เหมือนเป็นจิ๊กซอว์ที่ทำให้ คุนิมิ แข็งแกร่งขึ้น และเขาก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ฮิรายามะ เริ่มฉายแววทันทีตั้งแต่ชั้น ม.4 เมื่อประเดิมประตูแรกให้ทีมในศึกชิงแชมป์ฤดูหนาวรอบรองชนะเลิศที่พบกับ คาโงชิมา จิตสึเงียว

ประตูที่เขาทำได้ แสดงให้เห็นเซนส์ของกองหน้าอย่างแท้จริง เริ่มจากด้วยการฉีกหนีตัวประกบเข้าไปรับบอลในกรอบเขตโทษ ก่อนจะล็อคหลบกองหลังแล้วแล้วจิ้มเข้าผ่านมือผู้รักษาประตูเข้าไป ช่วยให้ทีมเอาชนะ 4-1 ก่อนจะก้าวไปคว้าแชมป์ในที่สุด

แต่นั่นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

UFABET

ชายแห่งศึกชิงแชมป์แห่งชาติ 

ปีต่อมา ฮิรายามะ ก้าวขึ้นมาเป็นตัวหลักของคุนิมิอย่างเต็มตัว เขาได้มีโอกาสชิมลางฟุตบอลอาชีพ ด้วยการทำแฮตทริคได้ในศึก เอ็มเพอเรอร์สคัพ รอบแรก ในเกมเอาชนะโรงเรียนยามางาตะ จูโอ 3-0 ก่อนจะไปได้ถึงรอบ 3 หลังจอดป้ายในการพบกับ จูบิโล อิวาตะ จากเจลีก

Photo : 芸能エンタメ倶楽部.com

และมันก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับ ฮิรายามะ ที่ทำให้เขาสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นดาวยิงแห่งศึกชิงแชมป์แห่งชาติครั้งที่ 81 หลังไล่พังตาข่ายคู่แข่งอย่างไม่ไว้หน้า

ด้วยรูปร่างที่สูงใหญ่ และร่างกายที่แข็งแกร่ง ทำให้เขากลายเป็นกองหน้าตัวอันตรายของทัวร์นาเมนต์ โดยเฉพาะลูกกลางอากาศของเขา ที่เป็นอาวุธที่ไม่มีทีมไหนเอาอยู่ รายการนั้น เขาระเบิดตาข่ายไปทั้งสิ้น 7 ประตู คว้าดาวยิงสูงสุดของรายการ แต่น่าเสียดายที่ทีมทำได้เพียงแค่รองแชมป์

นอกจากนี้ด้วยผลงานที่โดดเด่นยังทำให้เขาถูกเรียกติดทีมชาติญี่ปุ่นชุดอายุไม่เกิน 20 ปี ชุดสู้ศึกฟุตบอลโลก U20 ที่ยูเออี ในปี 2003 และทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้เก่งแต่ฟุตบอลระดับมัธยมปลาย หลังยิง 2 ประตู (หนึ่งในนั้นคือเกมพ่ายบราซิล 1-5) ช่วยให้ทีมเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย

ประสบการณ์เวทีในระดับโลก ยังทำให้ ฮิรายามะ พัฒนาตัวเองไปอีกขั้น ทำให้ตอน ม.6 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในชีวิตมัธยมปลาย กลายเป็นปีที่สุกงอมของเขาพอดี

เขากลายเป็นกองหน้าจอมทำลายล้างที่หยุดไม่อยู่ และยิงประตูคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่ลูกโหม่งเท่านั้น แต่ลูกภาคพื้นดินก็ยังทำได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าการพักแล้วยิง หรือลากเลื้อยเข้าไปซัด ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จนได้รับฉายาว่า “สัตว์ประหลาด”

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญนั้นคือการทำแฮตทริค ในเกมรอบรองชนะเลิศที่เอาชนะทาคิงาวะ ไดนิ ของ ชินจิ โอคาซากิ ไปอย่างขาดลอย 4-0 เช่นเดียวกับนัดชิงชนะเลิศ ที่แม้จะโดนกองหลังคู่แข่งประกบหนัก แต่ไม่คณามือ หลังยิง 2 จ่าย 1 ช่วยให้คุนิมิ ไล่ถล่ม จิคุโย กัคคุเอ็ง ไปอย่างขาดลอย 6-0 คว้าแชมป์สมัยที่ 6 ได้สำเร็จ

“มันเป็นแค่การระเบิดความรู้สึกออกมา ผมแค่อยากทำประตูได้ แค่อยากจะขอบคุณทุกคน” ฮิรายามะ กล่าวกับ Nikkan Sports หลังเกม

ตลอดทั้งรายการ ฮิรายามะ ซัดให้คุนิมิไปทั้งสิ้น 9 ประตู แถมยังยิงได้ทั้ง 5 นัดที่ลงสนาม พร้อมคว้ารางวัลดาวซัลโวสูงสุดของทัวร์นาเมนต์เป็นปีที่สองติดต่อกัน ทำให้แม้ในรายการนั้น จะอุดมไปด้วยนักเตะฝีเท้าดีน่าจับตา ไม่ว่าจะเป็น เคซุเกะ ฮอนดะ (เซเรียว), โอคาซากิ (ทาคิงาวะ ไดนิ) หรือ โรเบิร์ต คัลเลน (ฟุนาบาชิ) แต่ไม่มีใครที่จะได้รับการยกย่องไปกว่า ฮิรายามะ

 

นอกจากนี้ 9 ประตูดังกล่าวยังทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากที่สุดตลอดกาลของศึกชิงแชมป์แห่งชาติ หลังยิงรวมไปทั้งสิ้น 17 ประตูจากตลอด 3 ปี ทำลายสถิติเดิมของ ฮิเดกิ คิตาจิมา ของฟุนาบาชิ ที่ทำไว้ 16 ประตู จนถูกเรียกว่า “ชายแห่งศึกชิงแชมป์แห่งชาติ” 

หลังจากนั้นญี่ปุ่น ก็เริ่มเล็กไปสำหรับเขา

สู่ระดับโลก 

แม้จะทำผลงานได้อย่างสุดยอดในฟุตบอลมัธยมปลาย แต่ฮิรายามะ ก็ชะลอการเป็นนักเตะอาชีพของตัวเองไว้ก่อน เมื่อตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสึคุบะ หลังจบการศึกษาจากคุนิมิ

“ผมไปเรียนมหาวิทยาลัยเพราะตอนแรกยังไม่ได้คิดที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ผมทำประตูได้มากมายในศึกชิงแชมป์แห่งชาติ ต้องบอกว่าเพื่อนร่วมทีมมีส่วนสำคัญมาก แน่นอนว่าเวิลด์ยูธ (ฟุตบอลโลก U20) ก่อนศึกชิงแชมป์ตอนปี 3 ทำให้ผมเล่นง่ายขึ้น” ฮิรายามะ ย้อนความหลังกับ Shupure News

แต่ดูเหมือนว่าโชคชะตาของเขาจะถูกลิขิตไว้กับเส้นทางสายนี้ เมื่อในปี 2005 เขาถูกเรียกติดทีมชาติญี่ปุ่นไปเล่นฟุตบอลโลก U20 ที่เนเธอร์แลนด์ และทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวก็ทำให้ได้ไปค้าแข้งในยุโรป

แม้ว่าปีดังกล่าว ญี่ปุ่นจะไปได้ไกลแค่รอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ประตูของฮิรายามะ ในเกมพ่ายเจ้าภาพ 2-1 ก็ทำให้เขาได้รับความสนใจจากทีมในลีกดัตช์ ก่อนจะได้เซ็นสัญญากับ เฮราเคิ่ลส์ อัลเมโล่ สโมสรน้องใหม่ที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในเอเรดิวิซีลีก

“การย้ายไปอยู่เฮราเคิ่ลส์ เพราะว่าผมอยากจะเติบโตไปอีกขั้น หลังจากมีประสบการณ์ได้เล่นในเวิลด์ยูธอีกครั้ง” ฮิรายามะ อธิบายกับ Shupure News

“ตอนนั้น แม้จะเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย แต่เพราะต้องไปเล่นให้กับ U20 และโอลิมปิกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผมแทบไม่ได้เข้าเรียนเกือบครึ่ง ก็เลยคิดว่าเราจะไปมหาวิทยาลัยทำไมนะ”

Photo : soccer.findfriends.jp

แม้จะไม่เคยมีประสบการณ์ในเจลีก แต่ฮิรายามะ กลับทำได้ดีเกินคาด เขาปรับตัวเข้ากับฟุตบอลของเนเธอร์แลนด์ได้อย่างรวดเร็ว และเพียงนัดแรกที่ลงสนาม เขาก็เริ่มสร้างชื่อได้ทันที

ฮิรายามะ ถูกส่งลงมาในช่วง 15 นาทีสุดท้าย ตอนที่ทีมกำลังตามหลังเจ้าบ้าน เอดีโอ เดน ฮาก 1-0 และแค่เพียง 2 นาทีเขาก็โหม่งประตูตีเสมอให้ทีมได้สำเร็จ และก่อนหมดเวลา 6 นาที ลูกกลางอากาศของเขาก็มาแผลงฤทธิ์ หลังโหม่งประตูชัย ช่วยให้ทีมพลิกแซงคว้า 3 คะแนนได้สำเร็จ

ฤดูกาลแรกในเวทียุโรปของ ฮิรายามะ เริ่มต้นอย่างหอมหวาน เขาได้รับโอกาสลงสนามบ่อยครั้ง ก่อนจะตอบแทนความไว้ใจของโค้ช ด้วยการทำไปถึง 8 ประตู ช่วยให้ทีมรอดพ้นจากการตกชั้น พร้อมคว้ารางวัลดาวซัลโวสูงสุดของสโมสร

“ฮิรายามะเป็นพวกที่ใช้งานได้ในระดับโลก เขาทำได้ดีกับผลงานที่ยูเออี (ฟุตบอลโลก U20 ปี 2003) ทั้งการเคลื่อนที่และการอดทนต่อสภาพแวดล้อม เขาไม่ได้มีแค่เทคนิคเท่านั้น แต่เขายังมีความแข็งแกร่งทางจิตใจที่สั่งสมมาด้วย” มาซาคุนิ ยามาโมโต กุนซือทีมชาติญี่ปุ่นชุดโอลิมปิก ที่เคยเรียกเขาติดทีมลุยเอเธนส์เมื่อปี 2004 กล่าวกับ Nikkan Sports

ทุกอย่างมันเหมือนกำลังเป็นไปได้ดี การคว้าดาวซัลโวของทีมตั้งแต่ปีแรกในยุโรปถือว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา แถมปีต่อมาเขายังได้รับเบอร์เสื้อหมายเลข 9 ที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับต่อเพื่อนร่วมทีม

แต่การจากไปของ ปีเตอร์ บอสซ์ ที่ย้ายไปรับตำแหน่งประธานเทคนิคของ เฟเยร์นูร์ด ก็เหมือนฟ้าผ่ากลางหัวของเขา การมาถึงของ รุด บรอด ทำให้เขาไม่ได้อยู่ในแผนการทำทีม จนสุดท้าย ฮิรายามะ ก็ขอยกเลิกสัญญากับทีม โดยให้เหตุผลว่าขอกลับไปศึกษาต่อ

มันเป็นการปิดฉากเส้นทางยุโรป ไปแบบไม่ตั้งตัว พร้อมกับสิ่งที่ในตัวเขาที่เริ่มมอดไหม้ไปอย่างช้าๆ

จิตใจไม่มั่นคง 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้ ฮิรายามะ ขอกลับบ้านเกิด ไม่ได้มาจากเรื่องเรียน แต่เป็นเพราะ มาจากความเหน็ดเหนื่อยทั้งร่างกายและจิตใจที่ต้องฝึกฝนตัวเอง เพื่อต่อสู้กับกองหลังที่มีรูปร่างสูงใหญ่ของเนเธอร์แลนด์

นั่นจึงทำให้ เฮราเคิ่ลส์ รู้สึกโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ตอนที่เห็นฮิรายามะ เปิดตัวกับ เอฟซี โตเกียว ทั้งที่เพิ่งยกเลิกสัญญากับพวกเขาได้ไม่กี่เดือน

“เขาเป็นกองหน้าพรสวรรค์ แต่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับที่นี่ได้ ในจุดหนึ่งเขามาหาเราพร้อมกับประกาศว่าเขากำลังคิดที่จะเลิกเล่นฟุตบอล” ยาน สมิธ ประธานสโมสรเฮราเคิ่ลส์ ย้อนความหลังกับ voetbalprimeur.nl

“เขาอยากกลับไปญี่ปุ่น เพื่อเรียนต่ออีกครั้ง หลังจากนั้นเราก็ยินดีที่จะยกเลิกสัญญาและอวยพรให้เขาโชคดี” 

“แต่สองวันต่อมา ฮิรายามะ ยิงประตูแรกให้กับสโมสรใหม่ที่ญี่ปุ่น บางครั้งคุณก็ต้องพูดความจริง” 

และปัญหาทางจิตใจก็ส่งผลต่อตัวเขาเรื่อยมา แม้แต่ตอนที่กลับมาที่ญี่ปุ่น ในช่วงแรกอาจจะดูเป็นปกติ เพราะเขายังยิงได้ในหลัก 7-8 ประตูต่อฤดูกาล แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันก็เริ่มชัดเจนขึ้น

ในช่วงต้นปี 2009 เขาเริ่มมีปัญหาสภาพจิตใจอย่างหนัก เขาเริ่มรู้สึกไม่มั่นคง และไม่รู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้อย่างไร เขากลายเป็นคนเกเร มาซ้อมสาย แม้ว่าบ้านพักจะอยู่ใกล้กับสนามซ้อมของโตเกียว จนทำให้ถูกดร็อปจากทีมของ ฮิโรชิ โจฟุคุ กุนซือของโตเกียวในตอนนั้น

“ชีวิตนักฟุตบอล จะให้มันจบลงไปด้วยสภาพที่เสื่อมถอยอย่างนี้หรือ” ฮิรายามะกล่าวกับ The Page

“ผมรู้สึกว่า ไม่ว่าจะได้ลงสนามหรือไม่ได้ลงสนาม แต่ก็ต้องซ้อมเหมือนกัน ชีวิตนักฟุตบอลมันสั้น ผมรู้สึกเสียดายกับเวลาที่เสียไป (ในการซ้อมแต่ไม่ได้ลง)”

นอกจากนี้ เขายังรู้สึกว่า ตั้งแต่จบจากคุนิมิมา ไม่มีโค้ชคนไหน ที่สามารถดึงศักยภาพของเขาออกมาได้เหมือนกับโค้ชโคมิเนะ เหมือนที่เคยสร้างให้เขากลายเป็น “สัตว์ประหลาด” แห่งฟุตบอลมัธยมปลาย

อย่างไรก็ดี คำพูดของ โจฟุคุ ก็ทำให้เขาได้สติกลับมา

“ผมถูกเตือนหลายครั้งว่า ทั้งๆ ที่ได้เล่นฟุตบอลที่ชอบเป็นอาชีพและได้เงินด้วยซ้ำ ถ้าเดิมพันชีวิตกับฟุตบอลไปแล้ว จะมาสายก็คงจะไม่ได้แล้ว พอหันกลับมามองก็รู้ได้ว่าชีวิตมันต้องหนักแน่นกว่านี้” ฮิรายามะ ย้อนความหลัง

ทำให้หลังจากนั้น ฮิรายามะ เขาขอแก้ตัวใหม่ เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งไม่ใช่แค่มาซ้อมทันเวลาเท่านั้น แต่เขายังอยู่ซ้อมต่อในช่วงบ่าย และซ้อมพิเศษกับโค้ชกายภาพ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางร่างกาย

หลังจากเสียเวลาไปกับปัญหาทางจิตใจที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาฝีเท้า เขาก็เริ่มเขาก็กลับมาทวงตำแหน่งกองหน้าตัวจริงของทีมได้อีกครั้ง และไม่เพียงแต่พาทีมจบฤดูกาล 2009 ในอันดับ 5 ของตาราง แต่ยังยิงประตูช่วยให้ โตเกียว คว้าแชมป์ เจลีก คัพ ในปีนั้นได้อีกด้วย

“ฟุตบอลกลายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกของผมตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากที่เห็นด้วยตา ผมอยากตระหนักรับรู้ได้ว่าอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง” 

และมันก็เป็นเหมือนช่วงขาขึ้นของ ฮิรายามะ เมื่อเขามีชื่อติดทีมชาติญี่ปุ่น ชุดทำศึกเอเชียนคัพรอบคัดเลือก 2011 ก่อนจะประเดิมสนามได้อย่างยอดเยี่ยม ซัดแฮตทริค ช่วยให้ญี่ปุ่นที่ตามหลังเยเมน 2-0 พลิกแซงเอาชนะไปได้ 3-2

แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขก็อยู่กับเขาได้ไม่นานอีกครั้ง

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด 

“ผมได้โอกาสดีๆ เสมอ แต่ผมไม่สามารถสานต่อมันได้เลย” ฮิรายามะกล่าวกับ Shupure News

ในปี 2010 เป็นเหมือนปีที่ขึ้นสุด-ลงสุดสำหรับฮิรายามะ เขาเพิ่งเริ่มต้นได้อย่างยอดเยี่ยมกับทีมชาติญี่ปุ่น แต่ตรงข้ามกับสโมสร เมื่อโตเกียวทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ จนทำให้ โจฟุคุ ถูกปลด และสุดท้ายก็ไม่รอด เมื่อทีมร่วงตกชั้นตอนจบฤดูกาล

และเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อในเดือนเมษายนปี 2011 ระหว่างที่เจลีกพักเบรกชั่วคราวจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น เขาดันมาได้รับบาดเจ็บ หน้าแข้งขวาหักในการฝึกซ้อมช่วงจนต้องพักยาวจนจบฤดูกาล

แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น ฮิรายามะ มาได้รับบาดเจ็บที่จุดเดิมอีกครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2012 ทั้งที่ทีมได้เลื่อนชั้นกลับมาเล่นในเจ 1 ที่ทำให้เขาต้องหายหน้าหายตาไปจากวงการฟุตบอลอยู่พักใหญ่

ฮิรายามะ กลับมามีชื่ออีกครั้งในช่วงท้ายฤดูกาล 2012 หลังถูกส่งลงสนามในช่วง 9 นาทีสุดท้ายในเกมถล่ม เวกัลตะ เซนได 6-2 แต่เขาก็รู้ว่าตัวเขาคนเก่า ไม่มีทางกลับมาเหมือนเดิมอีกแล้ว

“สัญชาติญาณในการเล่นฟุตบอลของผมทื่อลงไปมาก ผมลืมความรู้สึกของการทำประตูไปแล้ว” ฮิรายามะระบายกับ The Page

“การเตรียมตัวก่อนเกมเกมการแข่งขัน และความเครียดที่สะสมมาทำให้ร่างกาย ของผมไม่สามารถลงไปสู้ได้ครบ 90 นาทีอีกแล้ว ลำพังแค่การซ้อมเรียกความฟิต ร่างกายของผมก็แทบจะไม่ไหว” 

มันคือช่วงเวลาเกือบ 2 ปีที่เขาใช้ไปกับการรักษาอาการบาดเจ็บ แต่วิบากรรมของเขาไม่ได้จบแค่นั้น เมื่อฮิรายามะ มาได้รับบาดเจ็บข้อเท้าขวาหักในเดือนกันยายน 2014 ที่ทำให้เขาต้องพักยาว และลงเล่นในเจ 1 ฤดูกาล 2015 ไปเพียงแค่ 2 นัดเท่านั้น​​​

เขาพยายามสู้ต่อ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ไหว การบาดเจ็บซ้ำๆ บั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจเขาเหลือเกิน แม้จะย้ายมาเล่นให้กับ เวกัลตะ เซนได ในปี 2017 แต่อาการบาดเจ็บ ยังคงตามมาหลอกหลอน ทำให้เขาหมดความอดทน และตัดสินใจแขวนสตั๊ดอย่างสุดช็อคด้วยวัยเพียง 32 ปี

“การได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ และไม่ค่อยได้ลงเล่น ทำให้ผมตัดสินใจเลิกเล่น ผมต้องขอโทษที่ทำให้สโมสรต้องเดือดร้อนในช่วงเวลาที่สำคัญก่อนเปิดฤดูกาล ยิ่งไปกว่านั้น ผมรู้สึกขอบคุณมากที่ยอมรับการตัดสินใจนี้” แถลงการณ์ในเว็บไซต์เวกัลตะ ของฮิรายามะ

“แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ผมต้องขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ เวกัลตะ เซนได ทุกคน ทั้งสตาฟโค้ช ผู้เล่นที่ทำให้ผมรู้สึกว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรแห่งนี้” 

“สำหรับ เอฟซี โตเกียว ผมเคยเล่นที่นั่น 11 ปี และรู้สึกราวกับที่นั่นเป็นบ้าน ผมรู้สึกมีความสุข สนุก เสียใจ เศร้าใจ และมีความทรงจำมากมายที่นั่น” 

“การได้เจอกับคนมากมายถือเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับ ผมต้องขอบคุณการสนับสนุนของแฟนบอลในปี 2010 ที่ให้กำลังใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากตอนที่เราตกชั้นไปเจ 2” 

มันคือการปิดฉากอย่างน่าเศร้า ของนักเตะคนหนึ่งที่เคยเป็นความหวังของวงการฟุตบอลญี่ปุ่น

สู่เส้นทางใหม่

หลังเลิกเล่น ฮิรายามะ ในวัย 32 ปี หวนกลับเข้าสู่วงการการศึกษาอีกครั้ง หลังกลับไปเรียนใหม่ที่มหาวิทยาลัยเซนได ในสาขาพละศึกษา โดยหวังว่าใบปริญญา และความรู้ที่ได้จะนำทางเขาไปสู่เส้นทางใหม่

“ผมอยากเป็นผู้จัดการทีม” ฮิรายามะ ยืนยันกับ Number

อันที่จริงเส้นทางการเป็นโค้ชส่วนใหญ่ของอดีตนักฟุตบอล มักจะมาจากการไปเรียนไลเซนส์หลังแขวนสตั๊ด และเริ่มต้นด้วยการเป็นโค้ชให้กับทีมอคาเดมี หรือทีมชุดใหญ่ของสโมสร แต่สำหรับ ฮิรายามะ เขากลับมีวิธีคิดที่ต่างออกไป

“เพราะว่าผมมีความรู้แค่ฟุตบอลที่ผมเล่น ผมก็เลยรู้สึกไม่แน่ใจ มีแต่คำถามเต็มไปหมด”  ฮิรายามะกล่าวต่อ

“มีโค้ชอยู่มากมายที่รู้แค่เรื่องฟุตบอล และโค้ชที่มีความรู้กว้างขวาง รู้ทุกซอกทุกมุม ถ้าบอกว่าอันไหนดีกว่า มันก็ต้องอย่างหลัง ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่นอกเหนือจากฟุตบอล และมุ่งไปสู่การเป็นผู้จัดการทีม” 

จริงอยู่ที่เส้นทางนักฟุตบอลอาชีพเขาจะต้องยุติลงก่อนวัยอันควร แต่เส้นทางใหม่ของเขาเพิ่งจะเริ่มตั้งไข่ได้ไม่นาน ปัจจุบัน เขาเป็นเพียงนักศึกษาปี 3 และมีแผนที่จะเข้ารับการอบรมไลเซนส์ ของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น

แม้ว่าสัตว์ประหลาดตนนี้ อาจจะไม่ได้เฉิดฉายอย่างที่ควรในชีวิตนักเตะ แต่ก็ไม่เสมอไปว่าเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในเส้นทางโค้ช เส้นทางสายใหม่ที่เขาได้เลือกแล้ว

และเขายังมีเวลาอีกมากมายที่จะได้พิสูจน์

อ่านข่าวอื่นๆที่ >>> https://www.ufabetwins.com/

หน้าแรก >>> https://www.optacaddy.com/